อีเมล์ :
รหัสผ่าน :
ลืมรหัสผ่าน
แหล่งท่องเที่ยว
พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติอู่ทอง

 

เศียรพระพุทธรูปทองคำ สมัยทวารวดี
ลูกปัดโบราณ สมัยทวารวดี
สถาปัตยกรรม "เรือนลาวโซ่ง" นอกอาคารจัดแสดง
       เที่ยวชม ได้ตามเวลานี้เลยนะ
ตุ้มหูสำริดและตะกั่ว สมัยทวารวดี
เครื่องประดับทองคำศิลปะทวารวดี พุทธศตวรรษที่ 12-14
ธรรมจักรศิลา ประติมากรรมดินเผา สมัยทวารวดี
คูเมืองโบราณ
   ประติมากรรมดินเผารูปพระสงฆ์ 3 องค์อุ้มบาตร

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอู่ทอง  ตั้งอยู่ที่ ถนนมาลัยแมน ตำบลอู่ทอง อำเภออู่ทอง ห่างจากอำเภอเมืองสุพรรณบุรี ประมาณ 33 กิโลเมตร ในเขตเมืองโบราณ มีพื้นที่ 25 ไร่ อยู่ใกล้กับที่ว่าการอำเภออู่ทอง  พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอู่ทอง เดิมคือ เมืองโบราณอู่ทอง ลักษณะตัวเมืองเป็นรูปรีค่อนข้างกลม ซากโบราณสถาน โบราณวัตถุ และเจดีย์สถาน สร้างในสมัยทวารวดี นอกจากนี้ยังมี ธรรมจักรพร้อมเสาและฐาน ที่พบในเมืองร้างแห่งนี้ เป็นธรรมจักรที่มีความสมบูรณ์ และสวยงามมากที่สุดในประเทศเมืองไทย กล่าวคือ ทั้งตัวธรรมจักร เสาและฐาน มีครบทุกส่วน สถานที่พบคือขุดได้จากเจดีย์หมายเลข 11

        เป็นที่รวบรวม ศิลปะวัตถุในสมัยต่างๆ ที่ขุดค้นพบ แสดงถึงวิวัฒนาการของมนุษย์ยุคสมัยต่างๆ ที่เคยอาศัยอยู่ในดินแดนแถบสุพรรณบุรี เครื่องมือ เครื่องใช้สมัยหินใหม่ ถึงสมัยสัมฤทธิ์ พระพุทธรูปสมัยทวารวดี เป็นต้น

        นอกจากนี้ ยังได้รวบรวมวัฒนธรรมลาวโซ่ง ซึ่งเดิมเป็นชนกลุ่มน้อย ซึ่งปัจจุบันได้ผสมกลมกลืนไปกับชาวพื้นเมืองแล้ว แต่ยังคงเอกลักษณ์บางอย่างไว้  ที่เห็นได้ คือ ประเพณี ความเชื่อ การทำมาหากิน การแต่งกาย โดยภายในพิธภัณฑสถานแห่งชาติอู่ทอง ได้จัดสร้างบ้านลาวโซ่งขึ้นภายในบ้านมีเครื่องมือเครื่องใช้ประจำวันอยู่ครบครัน  การจัดตั้งพิพิธภัณฑ์แห่งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อรวบรวมศิลปวัตถุในสมัยต่างๆ ที่ขุดค้นพบ แสดงถึงวิวัฒนาการของมนุษย์ยุคสมัยต่างๆ ที่เคยอาศัยอยู่ในดินแดนแถบสุพรรณบุรี รวมถึงเครื่องมือเครื่องใช้สมัยหินใหม่ถึงสมัยสัมฤทธิ์ พระพุทธรูปสมัยทวารวดี และอื่นๆ ที่น่าสนใจมากมาย ได้แก่ เมืองโบราณอู่ทอง จากการขุดแต่งโบราณสถานในชั้นหลัง ทำให้ทราบว่าโบราณสถาน และโบราณวัตถุที่พบมีอายุ มากกว่า 200 ปี สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้เสด็จทอดพระเนตรเมืองโบราณท้าวอู่ทองเมื่อ พ.ศ. 2446 พบว่าเป็นเมืองโบราณรุ่นเดียวกับนครปฐม ต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จทอดพระเนตรเมืองโบราณอู่ทองในปี พ.ศ. 2456 และโอนงานให้กรมศิลปากรดูแล รับผิดชอบ

        ได้รับประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติเมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2478 จึงได้สร้างอาคารพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง ขึ้นชั่วคราวในปี  พ.ศ. 2500 ทำการสำรวจขุดแต่งโบราณสถานในปี พ.ศ. 2504 ได้พบสถูปเจดีย์และโบราณวัตถุสมัยทวารวดีจำนวนมาก ต่อมาได้สร้างพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง อย่างถาวรในปี พ.ศ. 2508 เพื่อจัดแสดงโบราณวัตถุที่พบพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 9 พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนิน ทรงเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอู่ทอง เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2509 ดังกล่าว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 9 พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จระราชดำเนิน ทรงเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอู่ทอง เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม                   พ.ศ. 2509 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอู่ทอง ประกอบไปด้วยอาคาร 2 ชั้น 2 หลัง มีทางเดินเชื่อมต่อกัน ที่ว่างระหว่างอาคารจัดเป็นสวนหย่อมและพิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง การจัดแสดงส่วนใหญ่ เป็นศิลปะแบบทวารวดีที่ได้จากการขุดค้นขุดแต่งบริเวณเมืองโบราณอู่ทอง และชาติพันธุ์วิทยา

        อาคารที่ 1 จัดแสดงอารยธรรมเมืองอู่ทองสมัยก่อนประวัติศาสตร์ถึงสมัยประวัติศาสตร์วัฒนธรรมทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ 5 - 16) ซึ่งเคยเป็นเมืองท่าติดต่อค้าขายกับชาวต่างชาติ รับรูปแบบศาสนา ศิลปะแบบอมราวดี และแบบคุปตะจากอินเดีย และศิลปะศรีวิชัยจากภาคใต้ เป็นศูนย์กลางของศาสนาพุทธและศาสนาพราหมณ โบราณวัตถุที่จัดแสดงได้แก่ เครื่องมือหินขัด แวปั่นด้านดินเผา ภาชนะดินเผา ลูกปัดแก้ว เหรียญกษาปณ์ เหรียญสมัยจักรพรรดิวิคโตรินุส ประติมากรรมดินเผารูปพระสงฆ์ 3 องค์อุ้มบาตร และพระพุทธรูปปูนปั้นนาคปรกศิลปะแบบอมราวดี ธรรมจักร จารึกแผ่นทองแดง เศียรพระพุทธรูปทองคำ พระพุทธรูปปางประทานธรรมและพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ฯลฯ

        อาคารที่ 2 จัดแสดงประวัติศาสตร์เมืองอู่ทองในสมัยอยุธยา พุทธศตวรรษที่ 20 - 24 การบูรณะซ่อมแซมเจดีย์หมายเลข 1 ในสมัยพระเจ้าปราสาททองแห่งกรุงศรีอยุธยา (พ.ศ. 2173 - 2178) โบราณวัตถุที่จัดแสดง ได้แก่ พระพุทธรูป พระพิมพ์ ขันสำริด ครอบเต้าปูนสำริด กังสดาล และกระปุกลายครามของจีน ฯลฯ

        อาคารที่ 3 เป็นสถาปัตยกรรมเรือนลาวโซ่ง จัดแสดงขนบธรรมเนียม ประเพณี เครื่องมือ เครื่องใช้และการทอผ้า  พิพิธภัณฑ์เปิดบริการให้ประชาชนเข้าชมทุก วัน เว้นวันจันทร์ วันอังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์ ตั้งแต่เวลา 09.00-16.00 น.