อีเมล์ :
รหัสผ่าน :
ลืมรหัสผ่าน
แหล่งท่องเที่ยว
เจดีย์โบราณ

เจดีย์หมายเลข 1
เจดีย์หมายเลข 2
เจดีย์หมายเลข 3
เจดีย์หมายเลข 9
เจดีย์หมายเลข 10
เจดีย์หมายเลข 11
เจดีย์หมายเลข 13

 

         เจดีย์หมายเลข 1 (วัดปราสาทร้าง ) ที่ตั้ง อยู่นอกคูเมืองทางตะวันออกริมน้ำจรเข้สามพัน ห่างจากคูเมืองประมาณ 500 เมตร ลักษณะ เป็นเจดีย์รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ยาวด้านละ 36.50 เมตร โบราณวัตถุที่พบ แบ่งออกได้เป็น 2 สมัย คือ 1. โบราณวัตถุสมัยทวารวดี ได้แก่ พระพุทธรูปสำริดปางแสดงธรรม แผ่นอิฐตกแต่งลวดลายต่างๆ เหรียญเงินรูปอุณาโลม (ผุกร่อนเกือบหมด) 2. โบราณวัตถุสมัยอยุธยา ได้แก่ เครื่องใช้สำริด เช่น ครอบพาน กังสดาล ครอบเต้าปูน ขันตักน้ำ ขันกรองน้ำ และกระปุกลายครามจีนสมัยราชวงศ์หมิง (อายุราวพุทธศตวรรษที่ 21) การค้นพบโบราณวัตถุ 2 สมัยดังกล่าวนี้ แสดงให้เห็นว่าในสมัยอยุธยานั้นมีผู้คนเข้ามาอยู่อาศัยหรือใช้ประโยชน์จากเมืองอู่ทอง ซึ่ง ศาสตราจารย์ช็อง บัวเซอร์ลิเยร์ ให้ความเห็นว่าการก่อสร้างเจดีย์หมายเลข 1 ในสมัยอยุธยานั้นอาจทำขึ้นในสมัยพระเจ้าปราสาททอง (พ.ศ. 2172 - 2199) เจดีย์หมายเลข 2 ที่ตั้ง อยู่นอกคูเมืองด้านเหนือ ตรงข้ามกับสำนักงานที่ดินอำเภออู่ทอง ลักษณะ องค์เจดีย์ตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัส ยาวด้านละ 28.35 เมตร สูงประมาณ 1 เมตร ฐานชั้นล่าง แต่ละด้านก่ออิฐย่อมุมทั้ง 4 ด้าน มีเจดีย์ทิศรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสตั้งอยู่ทั้ง 4 มุม เจดีย์ทิศกว้างยาวด้านละ 4.20 เมตร เจดีย์องค์กลางตั้งอยู่บนฐาน มีเนื้อที่เป็นชานกว้าง 4 เมตร สำหรับประทักษินโดยรอบทั้ง 4 ด้าน องค์เจดีย์ แต่ละด้านก่อด้วยอิฐผสมแลง ด้านหนึ่งแบ่งออกเป็น 3 มุข คือ มุขกลางกว้าง 5.5 เมตร มุขริมกว้างมุขละ 5.65 เมตร โดยก่อเป็นบัวเหนือฐานบัวก่อเป็นช่องซุ้ม คือ มุขกลาง 3 ซุ้ม มุขริมข้างละ 6 ซุ้ม โบราณวัตถุที่พบ ธรรมจักรศิลาแต่ขาดหายเหลือเพียงครึ่งซีก พระพิมพ์ดินเผาประทับยืนอยู่ในวงโค้ง พระพุทธรูปยืนปางแสดงธรรมด้วยพระหัตถ์ทั้งสองข้าง (วิตรรกะมุทรา) ศิลาเขียวจำหลักนูนต่ำรอบองค์จำหลักเป็นเปลวโดยรอบ เศียรหักหายไป รูปกินรี ดินเผานูนต่ำ เศษชิ้นส่วนขององค์พระพุทธรูปสำริดปางสมาธิ เศียรและพระพุทธบาท พระพุทธรูปทองคำ และเศียรพระพุทธรูปปูนปั้น เจดีย์หมายเลข 3 ที่ตั้ง ห่างจากคูเมืองด้านทิศตะวันตกเข้ามา ประมาณ 50 เมตร โบราณสถานแห่งนี้ ดร.ควอริช เวลส์ ได้ขุดตรวจโดยขุดผ่าตรงกลางองค์เจดีย์จากทิศตะวันออกไปทิศตะวันตก เมื่อปี พ.ศ. 2478 ลักษณะ เป็นฐานเจดีย์รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้างด้านละ 16.60 เมตร แต่ละด้านมีมุขยื่น 3 มุข กว้างมุขละ 3.60 เมตร บนฐานแต่ละด้านประดับด้วยพระพุทธรูปและเทวรูปประทับนั่งอยู่ภายในซุ้ม แต่เห็นได้ชัดเจนเพียง 2 ด้าน คือ ด้านเหนือและด้านใต้เท่านั้น ฐานทางด้านเหนือขุดพบกองอิฐก่อเป็นฐานสามเหลี่ยม ตั้งห่างจากฐานเจดีย์ประมาณ 2 เมตร เข้าใจว่าเป็นแท่นสำหรับตั้งเครื่องสักการะองค์เจดีย์ โบราณวัตถุที่พบ พบเศียรพระพุทธรูปกับเทวรูปปูนปั้น และเศษชิ้นส่วนของพระพุทธรูปเป็นจำนวนมากพระพุทธรูปสำริดปางแสดงธรรม จำนวน 3 องค์ แผ่นดินเผาจำหลักรูปคนเหาะซึ่งมีลักษณะพลิ้วและสวยงามชิ้นหนึ่ง นอกจากนี้ยังพบเทวรูปยืนหน้ายักษ์ปูนปั้นและหน้ากาลดินเผา เจดีย์หมายเลข 9 ที่ตั้ง ที่เชิงเขาพระ ห่างจากเมืองอู่ทองไปทางทิศตะวันตก ประมาณ 3 กิโลเมตร ลักษณะ เป็นเจดีย์ฐานสามเหลี่ยมจัตุรัส ยาว กว้างด้านละ 10 เมตร ฐานชั้นล่างสูง 1.30 เมตร ฐานตอนบนก่ออิฐย่อสี่มุมเป็นมุข และมีช่องซุ้มประดับเป็นช่องๆ เห็นได้ชัดเจนทางด้านทิศใต้ ส่วนด้านอื่นเสื่อมสภาพไปหมดแล้ว นอกจากนี้ ยังมีเจดีย์กลมตั้งอยู่บนมุมทั้งสี่ทิศ ขนาดของเจดีย์ทิศเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 50 เซนติเมตร โบราณวัตถุที่ค้นพบ พระพิมพ์ดินเผาปางแสดงธรรมด้วยพระหัตถ์ทั้งสองข้าง (วิตรรกระมุทรา) ประทับยืนภายในซุ้ม จำนวน 2 องค์ เจดีย์หมายเลข 10 ที่ตั้ง เชิงเขาพระ ห่างจากเจดีย์หมายเลข 9 ออกไปทางทิศใต้ประมาณ 500 เมตร ลักษณะ เป็นเจดีย์ทรงกลม เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 16 เมตร สูงประมาณ 2 เมตร การก่ออิฐขึ้นไปตรงๆ ไม่ย่อเป็นชั้น โบราณวัตถุที่ค้นพบ เศษชิ้นส่วนขององค์พระพุทธรูปปางสมาธิและระฆังหินขนาดเล็ก เจดีย์หมายเลข 11 ที่ตั้ง เชิงเขาทำเทียม ทางด้านทิศตะวันตกของเมืองอู่ทอง ถัดจากเจดีย์หมายเลข 10 ไปทางทิศใต้ประมาณ 500 เมตร ลักษณะ เป็นเจดีย์รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้างยาวด้านละ 10.60 เมตร สูง 2.50 เมตร ก่ออิฐขึ้นไปตรงๆไม่มีมุข โบราณวัตถุที่พบ พบพระพุทธรูปสำริดปางแสดงธรรม 4 องค์ ธรรมจักรศิลากับเสาหินแปดเหลี่ยมจำหลักลวดลายและแท่นหินสี่เหลี่ยมจำหลักลวดลาย และพระพิมพ์ดินเผาปางสมาธิด้านหลังมีจารึกว่า เมตฺตยฺยโก และ สาริปุตฺโต เจดีย์หมายเลข 13 ที่ตั้ง อยู่นอกคันคูเมืองไปทางทิศตะวันตก ห่างจากคูเมืองไปประมาณ 200 เมตร ลักษณะ เป็นเจดีย์แปดเหลี่ยมสูงประมาณ 3.50 เมตร ฐานชั้นล่างแต่ละเหลี่ยมยาว 5 เมตร สูง 1 เมตร แต่ละด้านแบ่งเป็นช่องซุ้มด้านละ 2 ช่อง ไม่มีลวดลายเครื่องประดับอยู่ภายในซุ้ม ส่วนฐานชั้นบนทำเป็นฐานย่อมุมล้อฐานชั้นล่าง ตอนบนยังมีปูนโบกติดอยู่แต่ต่อมาได้ร่วงหลุด เนื่องจากเสื่อมสภาพเจดีย์องค์นี้นับเป็นเจดีย์สมัยทวารวดีที่มีรูปทรงงดงามมากองค์หนึ่ง โบราณวัตถุที่พบ พบพระพุทธรูปสำริดปางประทานเทศนาจำนวน 2 องค์ พระพุทธรูปสำริดปางแสดงธรรม จำนวน 2 องค์ สิงห์สำริดและเศษชิ้นส่วนของลวดลาย เครื่องประดับองค์เจดีย์ เช่น ส่วนยอดของสถูปทำด้วยศิลาแดง รูปสิงห์ศิลาแลงซึ่งปูนได้ลอกหลุดไปหมดแล้ว ข้อมูลจากหนังสือโบราณคดีเมืองอู่ทอง